Tuesday, March 5, 2013

King Naresuan 5 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 5 ยุทธหัตถี [Zoom Master HD]

Don't Copy From This Blog...

Protected by Copyscape Plagiarism Detection







เรื่องย่อ...

            ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แห่งวีรกษัตริย์ผู้ท­รงประกาศอิสรภาพ ของ "พระองค์ดำ" หรือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อภิมหากาพย์ภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่ง­สยามประเทศที่คนทั้งชาติรอคอย โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล สานต่อเรื่องราวของพระนเรศฯ ที่ได้พาเชลยและคนไทยหนีกลับมายังแผ่นดินเกิด โดยทรงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงฆ่าสุรกำมา แม่ทัพพม่าที่ได้ติดตามมา อันนำมาซึ่งการประกาศเอกราชที่เมืองแครง หลังจากทรงหลั่งทักษิโนทกประกาศความเป็นไทยไม่ขึ้นต่อพม่าอีกต่อไป ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาค 4 ศึกนันทบุเรง ปี พ.ศ. 2129 สานต่อเรื่องราวเมื่อทัพหงสาวดีในคราศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่พ่ายแพ้แก่กลศึกของพระนเรศฯ การทุรยศครั้งนั้นทำให้พระเจ้านันทบุเรงทั้งทรงขัดเคือง ทั้งทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของพระนเรศฯ และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงกรีฑามหาทัพแห่งหงสา ทั้งทัพช้าง 3,200 ทัพม้า 1,200 และไพร่ราบกว่า 252,000 และนายทัพผู้ปรีชามากมายทั้งพระมหาอุปราชา มังจาปะโร และลักไวทำมู หมายย่ำยีสยามให้ราบเป็นหน้ากลอง เพื่อธำรงพระเกียรติยศมิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในการปกครองของฝ่ายพม่า ส่งผลให้เจ้าเมืองประเทศราชของอยุธยาประหวั่นพรั่นพรึงถึงกับคิดจะแปรพักตร์เข้าสมานสมัครพระเจ้านันทบุเรง สถานการณ์คับขัน เมื่อกองทัพละแวก และกองทัพเมืองคัง ล้วนตีจาก ไพร่พลที่เป็นรองมหาทัพแห่งพระเจ้าหงสา ทำให้พระนเรศฯ ต้องเลือกที่จะรักษาพระนครฯ และแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึกเพื่อตัดกำลัง อันเป็นเหตุให้ต้องศาสตรากลางสนามรบ อีกทั้งพระราชมนูทหารเอกยังถูกจับเป็นเชลย ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยาและสมเด็จพระนเรศวรฯ จะลงเอยเช่นไร ติดตามได้ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 ศึกนันทบุเรง เรื่องราวศึกรบ และความรักยังคงดำเนินต่อไป แต่เป้าหมายอันสำคัญยิ่งของพระนเรศฯ ในการทำให้อโยธยาเป็นไทจากหงสาให้จงได้ ยังคงไม่เสร็จสิ้นและนำไปสู่การทำยุทธหัตถี ที่ปรากฏชื่อลือไกลและต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี
ข้อแนะนำ 
        ในบางครั้งกดเล่นแล้วอาจต้องรอนาน 1-2 นาที อาจเกิดจากมีคนเข้ามาดูพร้อมกันจำนวนมาก ทำให้เชิร์ฟเวอร์ทำงานหนัก หรืออาจเกิดเกิดจากควาเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

0 comments:

Post a Comment

 
//PART 2